รายงานผลการดำเนินการเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย ประจำปีงบประมาณ 2568

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย ได้ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ร่วมกับ คณะทำงานในพื้นที่ ตำบลเมืองมาย เพื่อเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมให้กับบุคคลภายนอก

ชื่อโครงการ :  ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่ตำบลเมืองมาย

          องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมายได้ดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ตำบลเมืองมาย ได้รับงบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไปภารกิจด้านการป้องกันและควบคุมไฟป่าขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  จำนวน  1,155,000 บาท  ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2568– 30 เมษายน 2568 เพื่อสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการดับไฟป่า  จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์  การฝึกอบรมอาสาสมัครท้องถิ่นควบคุมไฟป่า  การจัดหาอาสาสมัครท้องถิ่นควบคุมไฟป่า เพื่อดำเนินการลาดตระเวนและดับไฟป่า กิจกรรมชุดเฝ้าระวังรายละเอียดดังนี้

  1. วัน/เดือน/ปี ที่ดำเนินการ 30 มกราคม 2568
  2. สถานที่ดำเนินการ อาคารเอนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองมาย
  3. ประเด็น/เรื่องในการมีส่วนร่วม

1) การรับฟังความคิดเห็นการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

2) การพิจารณาจัดสรรงบประมาณ จากปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่เสนอ

3) รับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นควบคุมไฟป่า

4) กำหนดจุดเฝ้าระวัง ลาดตระเวน และควบคุมไฟป่า

1.4 สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม

มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน ได้แก่

1) คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)จำนวน 15 คน ได้แก่ นายก อบต.,  รองนายก อบต.,  เลขานุการนายก อบต., ประธานสภาฯ, สมาชิกสภา อบต. หมู่ที่ 1 – 6 หัวหน้าสำนักปลัด เจ้าหน้าที่สำนักปลัด, ปลัดอำเภอประจำตำบลเมืองมาย, ผู้อำนวยการโรงเรียนไผ่งามวิทยา,  ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านไผ่งาม, ผู้อำนวยการ รพ.สต.บ้านนางาม, ตำรวจสายตรวจประจำตำบลเมืองมาย

2) ผู้นำชุมชน และประชาชน หมู่ที่ 1 – 6  จำนวน  15  คน

1.5 ผลการมีส่วนร่วม

1) ประชาชนตำบลเมืองมายมีส่วนร่วมในการเสนอการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

2) หน่วยงานในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบูรณาการและดำเนินการแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

3) ประชาชนได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครท้องถิ่นควบคุมไฟป่า

4) มีการเสนอจุดเฝ้าระวัง จุดลาดตระเวนในการดำเนินการป้องกันแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

1.6 การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน

1) อบต.เมืองมาย ร่วมกับ หน่วยงานราชการในพื้นที่ ผู้นำชุมชน ประชาชน ได้ร่วมกันป้องกันแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) ทำให้มีอาสาสมัครท้องถิ่นควบคุมไฟป่าจำนวนมาก

ประมวลภาพกกิจกรรม